วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553

บทความเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต


ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail)
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นโปรแกรมรุ่นแรกๆ ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันในระบบอินเทอร์เน็ต เริ่มใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1971 ในปัจจุบันมีโปรแกรมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ได้เกิดขึ้นมากมายให้เลือกใช้ แต่โปรแกรมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้รับส่งได้เฉพาะในรูปของตัวหนังสือเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้ใช้ต้องการจะส่งรูปภาพ สามารถจะทำได้โดยการติด (attach) ไปกับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นั้นๆ
การใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับการศึกษา สามารถทำได้ในส่วนของการส่งเอกสารการเรียนการสอนการบ้าน การถาม-ตอบ กับครูผู้สอนหรือเพื่อนร่วมวิชาคนอื่นๆ โดยจะส่งไปตามที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ลงทะเบียนไว้
แหล่งข้อมูล (Information sources)
เนื่องจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่เชื่อมกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ทั่วโลกกว่าล้านเครื่องทำให้การหาข้อมูล ในระบบอินเทอร์เน็ตเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และง่ายดาย และน้อยครั้งมากที่ผู้ใช้จะต้องจ่ายเงินเพื่อข้อมูลนั้นๆ การใช้แหล่งข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ต จะใช้ระบบเวิลด์ไวด์เว็บเข้ามาดำเนินการ
เวิลด์ไวด์เว็บเป็นเพียงส่วนหนึ่งในระบบอินเทอร์เน็ต ที่เพิ่งเริ่มจะเกิดเมื่อ 4-5 ปีที่ผ่านมานี้และก็มีแนวโน้มว่า จะเป็นสื่อการสอบผ่านสื่อทางไกล ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดอีกประเภทหนึ่ง การทำงานของเวิลด์ไวด์เว็บ จะทำงานผ่านโปรแกรมทำการค้นหาแหล่งข้อมูล ที่เรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า เว็บบราวเซอร์ ที่รู้จักกันในนาม เนตสเคป หรือโมเสก และ อินเทอร์เน็ต Explorer หรือ ไออี เป็นการรวมของสื่อทุกอย่างไว้เข้าด้วยกัน เช่น ตัวหนังสือ รูปภาพ เสียง วีดิทัศน์ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นส่วนทำให้เวิลด์ไวด์เว็บเป็นสื่อที่ดูดความสนใจอีกประเภทหนึ่ง
ในปัจจุบันบางหน่วยงานหรือสถานการศึกษาใช้การสอบแบบปรนัย (Multiple Choice) ผ่านระบบเวิลด์ไวด์เว็บ แต่ทั้งนี้นักเรียนต้องเข้ามาทำข้อสอบ ในสถานที่ที่จัดให้ อีกตัวอย่างการสอบผ่านข่ายงานคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ทั่วโลก คือ การสอบของบริษัทโนเวล (Novell) สำหรับประกาศนียบัตร Certified Netware Engineer (CNE) ซึ่งเป็นการสอบผ่านระบบออนไลน์ (On-line teleexamination) โดยใช้การ download ข้อสอบจากศูนย์กลาง มายังสถานที่สอบโดยผู้สอบทำแบบทดสอบ บนจอคอมพิวเตอร์ และคำตอบที่ได้จะถูกส่งกลับ ไปตรวจที่ศูนย์กลางเมื่อหมดเวลาสอบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น