วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553

บทความเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต

"ใครเป็นเจ้าของ อินเทอร์เน็ต"
ในปัจจุบันหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับควบคุมดูแลทิศทางของอินเทอร์เน็ตโดยรวมคือ "สมาคมอินเทอร์เน็ต" (Internet Society) ซึ่งสมาชิกประกอบด้วยทั้งผู้ใช้และผู้ให้บริการทั่วไป รวมกันเป็นกลุ่มย่อยๆภายใน สมาคมอีกทีหนึ่ง ในบรรดากลุ่มย่อยเหล่านี้ หลุ่มย่อยอันหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญคือ Internet Architecture Board หรือ IAB ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ 2526 เพื่อสนับสนุนงานวิจัยต่างๆเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและในปัจจุบันเป็นผู้วาง มาตรฐานการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย ทำหน้าที่ค้นคว้า วิจัยสิ่งใหม่ เพื่อรองรับอินเทอร์เน็ตในอนาคต
บริการต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต ตามที่ได้อธิบายไปแล้วว่าเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คือเครือข่ายของเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงกันไปทั่วโลกในแต่ละ เครือข่ายก็จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ ซึ่งอาจเรียกว่าเป็น เซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือ โฮสต ์ (Host) เชื่อมต่ออยู่เป็นจำนวนมาก ระบบคอมพิวเตอร์เหล่านี้จะให้บริการต่างๆ แล้วแต่ลักษณะและจุดประสงค์ท ี่เจ้าของเครือข่ายนั้นหรือเจ้าของระบบคอมพิวเตอร์นั้นตั้งขึ้น ในอดีตมักมีเฉพาะบริการเรื่องข้อมูลข่าวสารและ โปรแกรม ที่ใช้ในแวดวงการศึกษาวิจัยเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันก็ได้ขยายเข้าสู่เรื่องของการค้าและธุรกิจแทบ จะทุกด้าน บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตอาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
1. บริการด้านการสื่อสาร เป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อรับส่งข้อมูลแลกเปลี่ยนกันได้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรวด เร็วกว่าการติดต่อแบบธรรมดาและมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างถูกกว่ามาก
1)ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อรับ-ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือ E-mail กับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกกว่า 20 ล้านคน ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอีก และบริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นี้ก็รวดเร็วทันใจและสะดวกมาก โดย E-mail จะมีหลักการทำงานดังนี้1. POP3 (Post Office Protocol) ซึ่งในปัจจุบันเป็น protocol มาตรฐานที่ใช้สำหรับรับ-ส่ง จดหมายอิเล็กทรอนิก ในปัจจุบันนี้ 2. SMTP (Simple Mail Transfer Protocol) 3. IMAP (Internet Message Access Protocol)4. MIME (Multipurpose Internet Mail Extension)วิธีการทำงานของ POP3 POP3 จะมีหลักหารทั่วไปคล้ายๆกับหลักการรับและส่งของระบบไปรษณีย์ในปัจจุบัน คือในทันทีที่มีจดหมายมา ส่งที่ทำการไปรษณีย์ปลายทาง (โดยทั่วไปคือ Mail server ของ ISP หรือ องค์กรต่างๆ)จดหมายฉบับนั้นก็จะค้าง อยู่ที่ๆทำการฯ ไปจนกว่าจะมีคนมาติดต่อขอรับมัน ด้วยวิธีการนี้ภาระของผู้ส่งจดหมายจะสิ้นสุกเมื่อจดหมายถึง ที่ทำการไปรษณีย์ปลายทาง(ซึ่งก็เปรียบเสมือนโฮสต์ที่ทำหน้าที่เก็บจดหมายของผู้ใช้ปลายทาง) POP3 จะเป็น Protocol แบบดึง('Pull' Protocol) เมื่อใดก็ตามที่เครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ใช้บรอการ (Client) มีความต้องการที่จะ ตรวจสอบข้อความ มันจะทำการเชื่อมต่อไปยัง เมล เซอเวอร์ และจะใช้ POP เพื่อ Login เข้าปยังตู้รับจดหมาย (Mailbox) แล้วดึงจดหมายนั้นมาไว้ในเครื่องเราPOP จะเป็นหารบริการที่เหมาะสมสำหรับคอมพิวเตอร์ที่ต้อง การติดต่อเข้าอินเทอร์เน็ตทางโทรศัพท์ เพราะว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราจะรับ E-mail ไม่จำเป็นที่จะต้องเชื่อม ต่อกับอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา วิธีการทำงานของ SMTPวิธีการนี้เป็นวิธีที่นิยมใช้กันบน Unix ซึ่ง เป็น โปรโต้คอลที่อาศัยวิธีการส่งจดหมายเป็นทอดๆระหว่างโฮสต์ ต่อๆกัน จนกว่าจะไปถึงโฮสปลายทาง สรุปคือ วิธีการนี้เป็นวิธีเก่า ถ้าไม่เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ รับเอาไว ้ตลอดเวลาก็จะไม่สามารถรับ จดหมายได้ และในปัจจุบันเครื่อง PC ส่วนบุคคลทั้งหลายก็ไม่ได้ใช้ระบบปฏิบัติ การUNIX และระบบปฏิบัติการที่ใช้ก็ไม่รองรับไฟล์ในระบบ Unix นั่นก็หมายความว่า หากใช้เครื่อง PC ถึง จะเปิดเครื่องไว้ เครื่องนั้นก็ไม่สามารถใช้ไฟล์นั้นได้อยู่ดี ระบบนี้จึงเป็นระบบเก่าที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าใดนักวิธีการทำงานของ IMAPเป็น Protocol ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับ POP3 แต่จะแก้ปัญหาของ POP3 ได้ดีขึ้นคือ POPจะมีวิธีการทำงานในลักษณะ "เก็บและส่งต่อ" (store-and-forward) ดังนั้นกระบวนการจัดการจดหมายต่างๆจึงยังไม่ดีมากพอ IMAP จะแตกต่าง จาก POP ในเรื่องของการตรวจสอบเมล์ ซึ่ง IMAP จะสามารถตรวจสอบเมล์ได้ 3 แบบคือ 1.offline access คือดึงเมล์ ทั้งหมดมาเก็บไว้ที่เครื่องเราและ ลบเมล์ออกจากเครื่อง server(ซึ่ง POP3 จะตรวจสอบด้วยวิธีนี้ และการใช้โปรแกรมดึงอีเมล์ (E-mail Client ) บางตัวเราสามารถสั่งให้เก็บจดหมายที่เราอ่านแล้วไว้ที่เครื่อง server ได้ 2.Online-access อ่านเมล์แบบออนไลน์โดยใช้เครื่องเราเป็นตัวอ่านเมล์ ส่วนตัวจดหมายก็อยู่ที่ server 3.Disconnected access คือการผสมระหว่าง 2 วิธีแรกคือ เราสามารถเลือกเมล์ที่ต้องการนำมาเก็บเครื่องเราก่อน ได้ โดยไม่ต้องดาวโหลดมาทั้งหมด ที่สำคัญเราสามารถรู้ได้ว่าเราได้มีการลบเมล์ไปเท่าไหร่แล้ว โดย IMAP จะสามารถจดจำเอาไว้ได้ว่าเราได้ลบเมล์ฉบับไหนออกไปเมื่อมีการติดต่อกับ เซอร์เวอร์ในครั้งถัดไปจำนวน เมล์ในเครื่องเรากับเครื่องเซอร์เวอร์จะถูกปรับให้เข้ากันได้โดยอัติโนมัติ(คือการทำ Synchronized) ด้วยเทคนิค นี้ทำให้เราสามารถตรวจสอบเมล์ได้จากคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องโดยไม่สับสน(ไม่ว่าคุณจะใช้เครื่องจากที่บ้าน ที่ทำงาน หรือ โน๊ตบุค ก็จะให้ผลเหมือนกันซึ่งจะต่างจาก POP ที่ทำให้สับสนเมื่อตรวจเมล์จากหลายๆเครื่อง) ซึ่งเราสามารถสรุปจุดเด่นของ IMAP ได้ดังนี้1. IMAP สามารถให้บริการในรูปแบบ remote ได้ดีกว่า (คือการควบคุมการใช้เมล์จากเครื่องเราไปยัง Server ) เช่น อ่านเมล์แบบออนไลน์ แยกเมล์กับส่วนประกอบเอกสาร (Attachment)ออกจากกันได้ เราสามารถเลือกดาว โหลดจดหมายมาเก็บไว้เครื่องเรา โดยทิ้งส่วนประกอบเอกสารไว้ที่ Server เพื่อดาวโหลดในภายหลังหรือยามว่าง2. IMAP สนับสนุนโฟลเดอร์แบบลำดับชั้นและสามารถแบ่งโฟลเดอร์ให้ใช้งานร่วมกันได้(folder hierarchies and folder sharing) ในขณะที่ POP ไม่สามรถทำได้3. IMAP อณุญาติให้ทำการค้นหาจดหมายหรือบางส่วนของจดหมาย รวมทั้งเลือกจดหมายที่ต้องการจะนำมาเก็บ ไว้ที่เครื่องเราได้ (การค้นหานี้จะทำโดย server ไม่ใช่ Client) แต่ถึงยังไงก็แล้วแต่ IMAP protocol ก็ยังไม่ได้รับความนิยมในปัจจุบันโดยนักเล่นอินเทอร์เน็ตทั้งหลายยังคงใช้ POP กันอยู่เนื่องจากสาเหตุหลายประการ ดังนี้1. POP3 นั้นได้ติดตั้งอยู่ในโปรแกรมชิอดังที่มีความสามารถลูกเล่นแปลกใหม่ที่ได้รับความนิยมของ user ทั่ว ไปในขณะที่ IMAP นั้นยังไม่ค่อยมีโปรแกรมที่พัฒนามากนัก2. การใช้ IMAP นั้น จะต้องใช้ทรัพยากรของเครื่อง Server มากขึ้นทำให้เครื่องที่เป็น server ต้องทำงานหนักขึ้น อย่างมากจึงต้องเสียค่าบริการราคาแพง แต่ POP นั้นมีให้บริการฟรีทั่วไปในโลก Cyber space3. IMAP นั้นจะต้องใช้เวลาในการติดต่อนานกว่า เนื่องจากมีกิจกรรมที่จะต้องส่งข้อมูลระหว่าง Client กับ server เพื่อปรับเปลี่ยนข้อมูลให้ตรงกันซึ่งต่างกับ POP คือดึงข้อมูลมาแล้วก็หมดหน้าที่วิธีการทำงานของ MIMEเนื่องจากอีเมล์สมัยแรกที่เริ่มต้นในระบบอินเทอร์เน็ตจะมีค่าแค่เพิ่งเครื่งมือในการส่งข้อความสั้น โดยที่คุณ ไม่สามารถที่จะแนบเอกสารหรือรูปภาพที่คุณชอบส่งไปได้ จนกระทั่งได้มีการพัฒนา กำหนด Protocol ใหม่ที่ชื่อว่า MIME ซึ่งเป็มาตรฐานในการเข้ารหัสแฟ้มข้อมูลหลายชนิดไปรวมกับ E-Mail ผ่านอินเทอร์เน็ตซึ่งในปัจจุบันนี้ไม่ม ีไฟล์ประเภทไหนที่ MIME ไม่รู้จัก เราจึงสามารถส่งไฟล์ทุกประเภทไปพร้อมกับ E-mail ได้ โดยมีวิธีการคือแปลง ไฟล์รูปภาพ เสียง วีดีโอ ซึ่งอยู่ในรูปแบบ Binary ให้มาอยู่ในรูปแบบตัวอักษร MIME เป็นตัวมาตรฐานที่กำหนดขึ้นเพื่อรองรับจุดประสงค์ที่หลากหลายจากการใช้งาน internet Mail ทั้งนี้เพื่อ ขยายประโยชน์ใช้สอบของอีเมล์ได้มากขึ้น แฟ้มข้อมูลมาตรฐาน MIMEสามารถใช้ร่วมกับการเก็บไฟล์ของส่งผ่าน ไปทางมาตรฐาน SMTP และ UUCP รวมถึง BitNet X.400 SNADS PROFS และยังมีความสามารถในการแลก เปลี่ยนข้อมูลบนระบบปฏิบัติการ ที่ต่างกันแต่ชนิดของซอฟแวร์ที่ใช้ต่างกันได้อย่างน่าอัศจรรย์สรุปถึงแม้จะมี Protocol มากมายที่ใช้สำหรับอินเทอร์เน็ตเมล์ซึ่งแต่ละอันก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียของตัวเอง ซึ่งโดย ทั่วไปก็จะใช้ POP3 ร่วมกับ SMTP โดยจะใช้ SMTP ในการส่งเมล์ออกไปยังปลายทางและใช้ POP ในการรับ เก็บจดหมาย E-mail เป็นมาตรฐานในการใช้ E-mail ในปัจจุบัน ซึ่งการใช้งานนี้ก็สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิดีแล้วในปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น